โดยข้อมูลเจาะลึกเป็นรายภูมิภาคของ “YouGov” ระบุว่า…
ภูมิภาคยุโรป : ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 48% ส่วนฟุตบอลโลก อยู่ที่ 45%
ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ : ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 40% ส่วนฟุตบอลโลก อยู่ที่ 61%
ภูมิภาคอเมริกาใต้ : ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 45% ส่วนฟุตบอลโลก อยู่ที่ 67%
ภูมิภาคแอฟริกาใต้ : ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 57% ส่วนฟุตบอลโลก อยู่ที่ 71%
ภูมิภาคอเมริกาเหนือ : ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 41% ส่วนฟุตบอลโลก อยู่ที่ 27%
สำหรับภูมิภาคอเมริกาเหนือมีประเด็นที่น่าสนใจและน่าวิเคราะห์อยู่ไม่น้อย เนื่องจากในฟุตบอลโลก 2026 ซึ่ง สหรัฐอเมริกา แคนาดา และ เม็กซิโก จะเป็นเจ้าภาพร่วมกันนั้น ตามข้อมูลของ “YouGov” ระบุว่า สำหรับ “สหรัฐอเมริกา” ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 36% ส่วนฟุตบอลโลก อยู่ที่เพียงแค่ 18% ส่วน “แคนาดา” ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 49% ส่วนฟุตบอลโลก อยู่ที่เพียงแค่ 29% ขณะที่ “เม็กซิโก” ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 57% ส่วนฟุตบอลโลก 55%
ส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก : ให้ความสนใจ โอลิมปิกฤดูร้อน 53% ส่วนฟุตบอลโลก อยู่ที่ 44%อย่างไรก็ดี สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “YouGov” ระบุว่า มีประเด็นที่น่าให้ความสนใจคือเป็นภูมิภาคที่ “เต็มไปด้วยความหลากหลาย” สำหรับการประเมินความนิยมในเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอินโดนีเซียมากถึง 7 ใน 10 คน หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยสูงถึง 70% ให้ความสนใจฟุตบอลโลก ซึ่งแตกต่างจากประเทศจีน ที่ให้ความสนใจฟุตบอลโลกเพียง 35% แต่ให้ความสนใจกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนมากถึง 60%
อย่างไรก็ดีจากข้อมูลของ “Nielsen” บริษัทวิจัยทางการชื่อดังระบุว่า “เอเชียแปซิฟิก” กำลังกลายเป็น “ตลาดสำคัญ” สำหรับ “โลกของฟุตบอล” เพราะเป็นดินแดนที่มีผู้คนให้ความ “คลั่งไคล้” กีฬาชนิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจากผลการสำรวจล่าสุดพบว่า แม้แต่ในประเทศเกาหลีใต้ และ อินเดีย ซึ่งแต่เดิมเคยนิยมกีฬาเบสบอล (เกาหลีใต้) หรือ คริกเก็ต (อินเดีย) มากกว่ากีฬาชนิดอื่นๆ หากแต่ผลการสำรวจล่าสุดพบว่า คนอินเดียให้ความสนใจฟุตบอลสูงถึง 56% เมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากร ในขณะที่ ชาวเกาหลีใต้ ให้ความสนใจฟุตบอลสูงถึง 50% เมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากร ซึ่งระดับความนิยมเช่นนี้ อยู่ในระดับสูงเทียบเท่ากับ ชนชั้นที่คลั่งไคล้ฟุตบอลและผ่านการเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกมาแล้ว อย่าง บราซิล เยอรมนี อิตาลี สเปน และสหราชอาณาจักร เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ตามข้อมูลของ “Nielsen” ยังระบุอีกว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ยังถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ควรให้ความสนใจ เนื่องจาก 3 ใน 4 ของจำนวนประชากรในประเทศที่มีประชากรสูงสุดในภูมิภาค อย่าง อินโดนีเซีย เวียดนาม และ ประเทศไทย นิยมชมชอบกีฬาฟุตบอล ถึงแม้ว่าประเทศในภูมิภาคนี้จะไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกเลยสักครั้งก็ตาม!
โดย เวียดนาม มีผู้ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 75% อินโดนีเซีย 69% และ ประเทศไทย 58% (มาเลเซีย 53% , สิงค์โปร์ 43% , ฟิลิปปินส์ 35%) ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่แฟนกีฬามากกว่าครึ่งในภูมิภาคอาเซียน “ยอมจ่ายเงิน” สำหรับ การรับชมการถ่ายสดฟุตบอลโลก มากกว่า รายการการแข่งขันกีฬาอื่นๆ
นอกจากนี้ ยังอีกหนึ่งประเด็นที่น่าให้ความสนใจจากข้อมูลของ “YouGov” คือ กลุ่มผู้บริโภคอายุน้อย ระหว่าง 18-24 ปี และ 25-34 ปี ให้ความสนใจกับฟุตบอลโลกมากกว่าโอลิมปิกฤดูร้อน โดยคิดเป็นสัดส่วน 45% (ฟุตบอลโลก) และ 40% (โอลิมปิกฤดูร้อน)
ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนกับกลุ่มอายุ 35-44 ปี ที่สนใจฟุตบอลโลกและโอลิมปิกฤดูร้อนใกล้เคียงกัน คือ 45% (ฟุตบอลโลก) และ 44% (โอลิมปิกฤดูร้อน) ในขณะที่กลุ่มอายุ 45-54 ปี บอกว่า ให้ความสนใจฟุตบอลโลก 43% ส่วนโอลิมปิกฤดูร้อนอยู่ที่ 48%
หากแต่กลุ่มอายุที่ “แตกต่าง” อย่างชัดเจนมากที่สุดคือ กลุ่มอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ที่สนใจฟุตบอลโลกเพียง 34% แต่ให้ความสนใจโอลิมปิกฤดูร้อนมากถึง 51%
ส่วน “เพศ” ใดสนใจ ฟุตบอลโลกและโอลิมปิกมากกว่ากันนั้น “คำตอบ” ที่ได้จากข้อมูลของ “YouGov” คือ…”ฝ่ายชาย” สนใจฟุตบอลโลกคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 55% ส่วนโอลิมปิกฤดูร้อนอยู่ที่ 52% ซึ่งแตกต่างจาก “ฝ่ายหญิง” ที่ชื่นชอบโอลิมปิกฤดูร้อน 47% ส่วนฟุตบอลโลกอยู่ที่เพียง 35%
ส่วน “คำตอบ” จาก “คำถาม” ที่ว่า เพราะเหตุใดฟุตบอลโลกจึงได้รับความนิยมในกลุ่มคนอายุน้อยมากกว่าโอลิมปิกฤดูร้อนนั้น จากข้อมูลของ “YouGov” ระบุว่า เป็นเพราะมี “ตัวแปรสำคัญ” คือ “เกมฟุตบอล” กำลังเป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยมอย่างมากใน “กลุ่มคนรุ่นใหม่” โดยบรรดาเกมเมอร์ในสหรัฐอเมริกา ดินแดนที่เรียก “ฟุตบอล” ว่า “ซอคเกอร์” ถึง 1 ใน 4 หรือมากกว่า 25% ระบุว่า ให้ความสนใจฟุตบอลโลก ส่วนในสหราชอาณาจักร คอเกมเมอร์ให้คำตอบว่า สนใจฟุตบอลโลกมากถึง 49% ส่วนโอลิมปิกฤดูร้อนอยู่ที่เพียง 41% ซึ่งไม่แตกต่างจาก “เยอรมนี” ที่บรรดาเกมเมอร์ ระบุว่าสนใจฟุตบอลโลกมากถึง 51%!
กราฟฟิก : Anon Chantanant
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง