ส่วนของโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน แห่งแรกในอาเซียน อยู่ภายใต้ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) โดย EA ได้ลงทุนในอมิตาไต้หวัน ถือหุ้น 71.2% แล้วมาขยายในไทย และในอีก 3 เดือนจะเห็นกำลังการผลิตแบตฯเป็น 4 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี จากนั้นจะขยายเป็น 8 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ช่วงเวลาที่ใช้ไฟเยอะคนต้องการสำรองไฟฟ้า เทรนด์ energy storageก็จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามทำแบต NMC แต่ปี2568 จะขยาย LFP เพิ่ม ซึ่งจะทำให้มี Ultra fast charge ภายใน 15นาที และนอกจากนี้ยังกำลังศึกษาการนำแบตฯเก่ามารีไซเคิลเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งมีโรงประกอบรถอีวีแบบครบวงจร และมีไทยสมายให้บริการเดินรถนี่คือความตั้งใจและในอนาคตก็จะขยายการเติบโตอย่างต่อเนื่องไทยสมายล์บัสด้วย
ทั้งนี้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และยานยนต์ไฟฟ้าที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่ผลิตได้ในระยะเริ่มต้น ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ สามารถนำมาใช้ในรถโดยสารไฟฟ้าขนาด 11 เมตร ซึ่งขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปี และการใช้รถโดยสารไฟฟ้าจำนวน 4,160 คัน สามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Reduction) ประมาณ 91,709 ตันคาร์บอนต่อปี และลดปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลได้กว่า 97,066,667 ลิตรต่อปี เมื่อเทียบกับรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซล
สำหรับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ของ AMITA ผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และวัสดุที่มีความปลอดภัยสูงในการผลิตเซลล์แบตตอรี่ให้สามารถจุพลังงานได้สูง มีน้ำหนักเบามีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นอันตราย เช่น กรดหรือตะกั่ว และใช้เทคนิคพิเศษในการผลิตเซลล์ เพื่อให้สามารถคัดแยกแผ่นขั้วบวกและขั้วลบได้ง่ายในขั้นตอนของการรีไซเคิล เมื่อแบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน จึงทำให้เป็นแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
“แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนจะเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า สามารณ์นำไปใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้ า รถโดยสารไฟฟ้า และเรือโดยสารไฟฟ้า เพื่อช่วยในการลดการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน”
สำหรับจุดเด่นของ AMITA คือ ผลิตด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติ 4.0 และกรรมวิธีที่เป็นสิขสิทธิ์เฉพาะของ AMITA และใช้เครื่องจักรการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนระดับโลก เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพสูงสุดของผลิตภัณฑ์ พร้อมกันนี้การออกแบบและผลิตให้รองรับเทคโนโลยี UItra-Fast Chargeที่สามารถชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ทุกประเภทได้ภายในเวลาเพียง 15-20 นาที ได้สูงถึง 3,000 รอบ
นอกจากนี้ยังมีโรงงานประกอบรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ทุกประเภท ทั้ง รถหัวลาก , รถเมล์ , รถทัวร์ , รถบรรทุกขนาดเล็ก , รถกระบะ เป็นต้น ถือว่าครบวงจรที่สุด นี่คือสิ่งที่เราตั้งใจและอยากให้เห็นว่าคนไทยสามารถทำในสิ่งที่ต่างประเทศทำได้เช่นกัน
“นี่คือภาพใหญ่ที่เราทำ เหมือนเป็นยุทธศาสตร์ที่เราเดินมา แต่ที่สำคัญคือตั้งแต่เราเดินมาจนถึงวันนี้ที่เราบอกว่าเราดูรัฐบาลทำโน่นทำนี่ ก็แอบน้อยใจนิดๆว่าเราไม่เคยได้ความช่วยเหลือ ผมอยากให้สนับสนุนเรื่อง Made in Thailand มากขึ้น เพราะช่วยให้เงินตราอยู่ในประเทศและจะทำให้เศรษฐกิจไทยโต ไม่งั้นจะเหมือนทัวร์ศูนย์เหรียญเหมือนที่เราเห็น เวลาคนมาลงทุนเราจะดูแต่ตัวเลขว่ามาลงทุนกี่แสนล้านเท่านั้น แต่จริงๆเงินเขาเอากลับไปหมด อย่างในอดีตผลิตรถยนต์ในไทย คนไทยได้ค่าแรงราว 5,000 บาทต่อคันเท่านั้น ผมคิดว่าถ้าอุตสาหกรรมปลายน้ำผลิตในไทยเยอะๆ คนไทยเป็นเจ้าของจะทำให้รายได้ เงินต่างๆอยู่ในประเทศไทยเยอะขึ้น เราจึงพยายามทำตรงนี้ “
ด้าน นายฉัตรพล ศรีประทุม ผู้อำนวยการ โครงการกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เปิดเผยว่า เรื่องของพลังงานในประเทศต้องบาลานซ์ใน 3 เรื่อง คือ
1.พลังงานสะอาด เพราะทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
2.ราคา ด้วยการใช้พลังงานสะอาดทั้งหมดในขั้นตอนการผลิตในบางช่วงบางเวลาราคาอาจจะแพง
และ 3.ความมั่นคงของประเทศ เพราะหากใช้เฉพาะโซลาร์กับลม ในช่วงเวลากลางคืนจะทำอย่างไร
ทั้งนี้กลุ่ม EA มองสถานการณ์ตั้งแต่ 7-8 ปีที่ผ่านมาแล้วว่านอกจากพลังงานทดแทน เชื่อว่ายานยนต์ไฟฟ้าต้องมาแน่ๆ เพียงแต่จะทำอย่างไรให้ธุรกิจเกิดขึ้นในไทยให้ได้เร็วที่สุดเพราะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสำคัญแต่ไทยไม่ได้มีวอลุ่มหรือประชากรใหญ่มากเหมือนจีน ดังนั้นเราจะทำอย่างไรจึงนำจุดแข็งของเรามาเดินหน้าธุรกิจอย่างเต็มกำลัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง